การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง คือ การผ่าตัดเปิดช่องท้องและผนังมดลูกของคุณแม่เพื่อนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำ ปัจจุบันมีการผ่าคลอด 2 แบบ ได้แก่ การผ่าคลอดแนวขวางที่มดลูกส่วนล่าง และการผ่าตัดแนวตั้งที่มดลูกส่วนล่าง โดยปกติแล้ววิธีผ่าคลอดจะเหมาะสมกับคุณแม่ที่แพทย์ผู้ดูแลลงความเห็นแล้วว่า การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติจะทำให้คุณแม่ หรือลูกมีความเสี่ยงมากเกินไป เช่น อุ้งเชิงกรานแคบ รกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง อยู่ในภาวะคลอดยาก หรือคลอดเนิ่นนาน
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการคลอดก็คือ ตั้งแต่ 38-39 สัปดาห์ขึ้นไปเพราะทารกจะโตเต็มที่ มีพัฒนาการต่างๆ ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว โดยเฉพาะปอดที่สามารถหายใจได้เอง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดน้อย การผ่าคลอดไม่จำเป็นต้องรอให้เจ็บท้องคลอดหนักๆ หรือไม่ต้องรอให้มีอาการน้ำเดิน มูกเลือดไหลออกจากช่องคลอด รวมทั้งไม่ต้องรอปากมดลูกเปิด เพียงแต่จะเกิดขึ้นในกรณีฉุกเฉิน จำเป้นต้องช่วยชีวิตแม่และทารกในครรภ์ หรือมีการวางแผนผ่าคลอดมาก่อนแล้ว
การ ผ่าคลอด เป็นวิธีคลอดแบบหนึ่งที่คุณแม่บางส่วนให้ความสนใจ เพราะส่วนหนึ่งสามารถกำหนดวันและเวลาการคลอดได้ตามต้องการ ระยะเวลาเจ็บท้องน้อยกว่า ลูกอาจมีความปลอดภัยมากกว่า นั่นจึงทำให้สถิติผ่าคลอดในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
การผ่าคลอดไม่จำเป็นต้องรอให้เจ็บท้องคลอดหนักๆ หรือไม่ต้องรอให้มีอาการน้ำเดิน มูกเลือดไหลออกจากช่องคลอด รวมทั้งไม่ต้องรอปากมดลูกเปิดให้ได้ระยะกว้างเพียงพอเหมือนการคลอดธรรมชาติ แต่สามารถทำได้ทันทีในกรณีต่อไปนี้
กรณีแรก ผ่าคลอดฉุกเฉิน หากแพทย์พิจารณาแล้วว่า มีความจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารก คุณแม่จึงไม่ต้องคอยนานเพื่อที่จะเห็นหน้าลูกน้อย โดยการผ่าตัดคลอดนั้นอาจใช้เวลาเพียงแค่ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมงก็ได้เห็นหน้าลูกแล้ว
กรณีที่ 2 วางแผนผ่าคลอด หากแพทย์ตรวจพบแต่เนิ่นๆ ว่า คุณแม่ หรือทารกในครรภ์มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ ไม่สามารถคลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้แน่นอน กรณีนี้แพทย์จำเป็นต้องวางแผนผ่าคลอดไว้ก่อนล่วงหน้า
ทั้งการเตรียมทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับข้อบ่งชี้ทางสุขภาพของคุณแม่และทารกเพิ่มเติม เช่น แพทย์ด้านโรคหัวใจ วิสัญญีแพทย์ บุคลากร เวชภัณฑ์ต่างๆ เลือดสำรอง และห้องผ่าตัดให้พร้อม ไม่ว่าคุณแม่จะตัดสินใจเลือกการคลอดวิธีไหน สุดท้ายแล้วแพทย์ผู้ดูแลครรภ์จะเป็นผู้ตัดสินใจ เพื่อการคลอดที่ปลอดภัยทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยที่สุด